วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
   แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี
   สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยได้แก่  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  และศาสนาสิกข์  ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่า   ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และอ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา

        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

             พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่

๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ อ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

พระอานนท์
     พระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ กับพระนางกีสาโคตมี เมื่อลำดับญาติแล้วพระอานนท์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้แล้วเพื่อโประพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชบิดาจนได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อประทับอยู่พอสมควรแก่เวลา ก็เสด็จไปยังเมืองไพสาลีพร้อมพระอรหันต์สาวก ขณะเสด็จถึงอนุปัยนิคม แคล้วนมัลละ เจ้าชายอานนท์พร้อมด้วยเจ้าชายในราชสกุลศากยะได้ตามเข้าเฝ้าและขอบวชจากรพะพุทธเจ้า พระอานนท์เมื่ออุปสมบทไม่นาน ท่านได้ฟังโอวาทากพระปุณณมันตานีบุตรอ่านเพิ่มเติม

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว

5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก


พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการ  อ่านเพิ่มเติม

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์ คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม

ความสำคัญของพระรัตนตรัย

           พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐขอ อ่านเพิ่มเติม

วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1) วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น

ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำ  อ่านเพิ่มเติม

พุทธประวัติและชาดก

1. ประวัติพระสารีบุตร

พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่งชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตคามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน เที่ยวด้วยกันและศึกษาศิลปวิทยาร่วมกัน วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวชมมหรสพในเมืองเห็นความไร้สาระของมหารสพเกิดความเบื่อหน่ายในการเสพ  อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา




พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นลักษณะเด่นชัดที่ชนต่างชาติประทับใจ และตั้งสมญานามเมืองไทยว่า “สย  อ่านเพิ่มเติม